วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ต่อ

3. สารทำความสะอาด

3.1 ความหมายของสารทำความสะอาด
สารทำความสะอาด หมายถึง คุณสมบัติในการกำจัดความสกปรกต่างๆ ตลอดจนฆ่าเชื้อโรค


3.2 ประเภทของสารทำความสะอาด
แบ่งตามการเกิด ได้ 2 ประเภท คือ
1) ได้จากการสังเคราะห์ เช่น น้ำยาล้างจาน สบู่ก้อน สบู่เหลว แชมพูสระผม ผงซักฟอก สารทำความสะอาดพื้นเป็นต้น
2) ได้จากธรรมชาติ เช่น น้ำมะกรูด มะขามเปียก เกลือ เป็นต้น


แบ่งตามวัตถุประสงค์ในการใช้งานเป็นเกณฑ์ แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. สารประเภททำความสะอาดร่างกาย ได้แก่ สบู่ แชมพูสระผม เป็นต้น
2. สารประเภททำความสะอาดเสื้อผ้า ได้แก่ สารซักฟอกชนิดต่างๆ
3. สารประเภททำความสะอาดภาชนะ ได้แก่ น้ำยาล้างจาน เป็นต้น
4. สารประเภททำความสะอาดห้องน้ำ ได้แก่ สารทำความสะอาดห้องน้ำทั้งชนิดผงและชนิดเหลว


3.3 สมบัติของสารทำความสะอาด
สารทำความสะอาด เช่น สบู่ แชมพูสระผม สารล้างจาน สารทำความสะอาดห้องน้ำ สารซักฟอก บางชนิดมีสมบัติเป็นกรด บางชนิดมีสมบัติเป็นเบสซึ่งทดสอบได้ด้วยกระดาษลิตมัส สารทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์บางชนิดมีสมบัติเป็นกรด สามารถกัดกร่อนหินปูนที่ยาไว้ระหว่างกระเบื้องปูพื้นหรือฝาห้องน้ำบริเวณเครื่องสุขภัณฑ์ ทำให้คราบสกปรกที่เกาะอยู่หลุดลอกออกมาด้วย ถ้าใช้สารชนิดนี้ไปนานๆ พื้นและฝาห้องน้ำจะสึกกร่อนไปด้วย นอกจากนี้ ยังทำให้ผู้ใช้เกิดความระคายเคืองของระบบทางเดินหายใจและผิวหนังอีกด้วย ดังนั้น ในการใช้ต้องระมัดระวังโดยปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้อย่างเคร่งครัดและต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม การใช้ในปริมาณมากเกินไป ไม่ได้หมายความว่าจะช่วยทำความสะอาดได้มากขึ้น ในทางตรงกันข้าม อาจทำให้สิ้นเปลืองและทำลายสิ่งแวดล้อม ส่วนสารทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์

4. สารกำจัดแมลง และสารกำจัดศัตรูพืช

4.1 ความหมายของสารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช
สารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช หมายถึง สารเคมีที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ป้องกันการกำจัด และควบคุมแมลงต่างๆ ไม่ให้มารบกวน มีทั้งชนิดผง ชนิดเม็ด และชนิดน้ำ


4.2 ประเภทของ สารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ


1. ได้จากการสังเคราะห์ เช่น สารฆ่ายุง สารกำจัดแมลง เป็นต้น
2. ได้จากธรรมชาติ เช่น เปลือกมะนาว เปลือกมะกรูด เปลือกส้ม เป็นต้น

4.3 ประโยชน์ของสารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช


1) กำจัด ควบคุม ป้องกันแมลง เพลี้ย และหนอนที่เป็นศัตรูพืช และเป็นอันตรายต่อคน
2) ช่วยให้พืชเจริญเติบโต
3) ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น


4.4 อันตรายของสารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช
1) เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ถ้าผู้ใช้ขาดความระมัดระวัง หรือถ้าใช้ไม่ถูกวิธี
2) สิ่งแวดล้อมเสียสมดุล ถ้าสารกระจายในอากาศ หรือสะสมตกค้างในน้ำ ในดิน
3) ทำให้ร่างกายทำงานผิดปกติ ถ้ามีสารสะสมในร่างกาย และถึงแก่ความตายได้ เมื่อบริโภค สารที่ตกค้างในพืช หรือส่วนต่างๆ ของพืช


4.5 การใช้สารกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคในบ้าน
สารเคมีที่ใช้ฆ่าแมลงในบ้านมีหลายรูปแบบ ทั้งแบบที่เป็นกระป๋องใช้ฉีดพ่น แบบเป็นก้อนใส่ไว้ในกล่องเพื่อล่อแมลงให้เข้าไปติดอยู่ในนั้น หรือเป็นแท่งชอล์ก สำหรับขีดไปบนพื้นหรือตามบริเวณที่ไม่ต้องการให้แมลงเข้าไปอาศัย ซึ่งมีวิธีการใช้งานดังนี้
1) ฉีด พ่นสารบริเวณที่เป็นซอกมุม ใต้โต๊ะ หรือตามผนัง
2) เก็บภาชนะใส่อาหารให้เรียบร้อย ปิดขวดหรือภาชนะใส่น้ำก่อนฉีดสาร
3) ขณะฉีดพ่นไม่ควรให้เด็กหรือสัตว์เลี้ยงอยู่บริเวณที่ฉีด และฉีดต่ำๆ ไม่ควรฉีด พ่นในอากาศเหมือนอย่างโฆษณาในโทรทัศน์ เพราะสารเคมีจะฟุ้งไปในอากาศ
4) หลังฉีดพ่นแล้วประมาณ 2-3 ชั่วโมง จึงใช้บริเวณนั้นได้
5) เมื่อฉีดพ่นเสร็จแล้ว รีบล้างมือให้สะอาดทันที

4.6 วิธีการใช้สารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืชในการเกษตร
เนื่องจากสารกำจัดศัตรูพืชเป็นสารที่มีพิษ มีอันตรายมาก ก่อนใช้สารเหล่านี้ต้องอ่านฉลากบนภาชนะบรรจุสารให้ละเอียดเสียก่อนซึ่งบนฉลากจะมีคำอธิบายวิธีใช้สารพิษ และวิธีป้องกัน ตลอดจนวิธีปฐมพยาบาลเมื่อเกิดอาการผิดปกติเนื่องจากการใช้สารเคมี ภาชนะที่บรรจุสารกำจัดศัตรูพืช นอกจากจะมีคำอธิบายการใช้ การเก็บรักษา ตลอดจนคำเตือนแล้ว ทางสมาคมผู้ผลิตสารเคมีเกษตรแห่งชาติ และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้ออกภาพเพื่อช่วยให้เกษตรกรเข้าใจง่ายขึ้น

1) ศึกษาวิธีใช้บนฉลากให้เข้าใจและใช้ตามคำแนะนำที่ได้บอกไว้
2) ควรเลือกใช้สารกำจัดแมลงให้เหมาะสมกับชนิดของแมลง
3) ควรหลีกเลี่ยงสารกำจัดแมลงพวกดีดีทีเพราะสลายตัวยาก ทำให้สารตกค้างในธรรมชาตินานจนเกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
4) แต่งกายให้มิดชิด สวมถุงมือยางใช้ผ้าปิดจมูกและปาก เมื่อฉีดเสร็จแล้วต้องเก็บอุปกรณ์เข้าที่ อาบน้ำให้สะอาด
5) ขณะฉีดพ่น ต้องยืนเหมือนลมเสมอ
6) หลักจากฉีดพ่นสารกำจัดแมลงแล้ว ควรทิ้งระยะเวลาอย่างน้อย 7 วัน จึงเก็บพืชผลได้


4.7 วิธีการเก็บรักษาสารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืชให้ปลอดภัย
การเก็บรักษาสารเคมีเพื่อฆ่าแมลงในบ้านและฆ่าศัตรูพืชต้องทำให้ถูกวิธี โดยเก็บในที่มิดชิด ควรแยกเก็บต่างหากจากสารอื่น ป้องกันไม่ให้ถูกแดดและฝน ห้ามถ่ายใส่ขวดอื่น เพราะอาจเผลอหรือมีผู้ไม่รู้หยิบไปใช้เนื่องจากคิดว่าเป็นสารของขวดเดิมซึ่งจะเป็นอันตรายได้ ขวดหรือกระป๋องที่ใช้หมดแล้วต้องนำไปฝังอย่างมิดชิด ห้ามนำไปใช้บรรจุสิ่งอื่นใดต่อ ห้ามทิ้งในกองขยะหรือแหล่งน้ำ หรือเผาไฟ

4.8 ผลกระทบของการใช้ สารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช ที่มีต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
(1) ผลจากการที่ร่างกายได้รับสารตกค้างสารกำจัดศัตรูพืชบางชนิดจะสลายตัวเร็ว บางชนิดสลายตัวช้า เกษตรกรบางคนใช้สารกำจัดศัตรูพืชเข้มข้นมากกว่า 2 ชนิดผสมกัน ทำให้ยากต่อการกำหนดระยะเวลาสลายตัวของสาร ถ้าร่างกายรับสารเหล่านี้เข้าไปจะก่อให้เกิดอันตราย แต่อาจขึ้นอยู่กับบุคคล ชนิด ปริมาณของสาร และความรุนแรงของสารชนิดนั้นๆ อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ปวดศีรษะ อาเจียน ชัก หมดสติ เป็นต้น
ก่อนใช้จำเป็นต้องศึกษาฉลากให้เข้าใจและปฏิบัติตนตามข้อแนะนำในฉลากอย่างเคร่งครัด ส่วนผักและผลไม้ก่อนรับประทานต้องล้างเพื่อลดปริมาณของสารตกค้างเสียก่อน นอกจากสารเคมีกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืชจะเป็นอันตรายต่อคนแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อสัตว์และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ดังตัวอย่างการกินต่อเป็นทอดๆ ของระบบนิเวศหนึ่งดังนี้


(2) ผลของสารกำจัดแมลงต่อสิ่งแวดล้อม
จากตัวอย่างการกินต่อเป็นทอดๆ ของระบบนิเวศหนึ่ง จะเห็นว่าเมื่อไก่กินพืชเป็นอาหารจะได้รับสารกำจัดศัตรูพืชเข้าไปสะสมในร่างกาย เมื่อคนรับประทานไก่เข้าไปก็จะได้รับสารพิษจากไก่นานๆ เข้าจะทำให้มีผลต่อสุขภาพของคน ส่วนหนอนเมื่อกินพืชเข้าไปจะได้รับสารพิษ ต่อมานกมากินหนอนก็จะได้รับสารพิษจากหนอนด้วย นกบางชนิดเมื่อได้รับสารฆ่าศัตรูพืชเข้าไปสะสมในร่างกายจะมีผลทำให้ไข่มีเปลือกบาง เปลือกไข่จะแตกก่อนที่ลูกนกจะเจริญเติบโตส่วนผึ้งเมื่อได้รับสารพิษจากพืชมากขึ้น ในที่สุดจะลดจำนวนลงและไม่มีผึ้งช่วยผสมเกสรให้กับไม้ผล ทำให้ไม้ผลชนิดนั้นไม่ติดผลเท่าที่ควรสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่ต้องอาศัยพืชชนิดนี้เป็นอาหารก็จะมีอาหารลดลง รวมทั้งมนุษย์ด้วย นอกจากนี้ยังทำให้ไม้ผลไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้เท่าที่ควร


(3) ผลของสารกำจัดแมลงที่มีต่อดิน
นอกจากสารฆ่าศัตรูพืชจะสามารถตกค้างในพืชแล้ว ยังสามารถตกค้างในดิน และน้ำได้อีกด้วย เมื่อสารฆ่าศัตรูพืชตกลงบนดินและสะสมในดินปริมาณมากขึ้นจะไปทำลายจุลินทรีย์บางชนิดที่ช่วยย่อยสลายเศษใบไม้และซากสัตว์ให้กลายเป็นปุ๋ยจะทำให้ดินจับตัวแน่นแข็ง น้ำและอากาศผ่านเข้าไปไม่ได้ ดังนั้นจึงไม่เหมาะในการเพาะปลูก และยังมีผลต่อสัตว์ที่อาศัยในดินและให้ประโยชน์ต่อพืช จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ดินไม่เหมาะในการเพาะปลูก


(4) ผลของสารกำจัดแมลงที่มีต่อน้ำ
เมื่อสารฆ่าศัตรูพืชถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำมีผลทำให้สิ่งมีชีวิตทั้งพืชน้ำและสัตว์น้ำได้รับสารดังกล่าวเข้าไปสะสม เมื่อสัตว์กินพืชหรือสัตว์เข้าไปจะทำให้สัตว์นั้นมีสารฆ่าศัตรูพืชเข้าไปสะสมมาก เมื่อคนรับประทานสัตว์นั้นก็จะได้รับสารพิษเข้าไป ซึ่งร่างกายของมนุษย์สามารถขับสารพิษออกจากร่างกายได้ส่วนหนึ่ง แต่บางส่วนจะสะสมอยู่ในร่างกาย เมื่อคนได้รับสารพิษอยู่เป็นประจำ พิษนั้นจะสะสมมากขึ้นจนเป็นอันตรายได้


(5) ผลของสารกำจัดแมลงที่มีต่อคนและสัตว์เลี้ยงในบ้าน
เมื่อฉีดสารเคมี นอกจากคนจะสูดกลิ่นและพิษเข้าไปแล้ว สัตว์เลี้ยงในบ้านก็จะได้รับสารพิษเข้าไปด้วย สารเคมีที่เป็นก้อนวางไว้ตามซอก หรือที่เป็นแท่งแล้วในขีดบนพื้นหรือบริเวณที่ต้องการนั้น สัตว์บางตัวอาจกัด กินหรือเลียสารเคมีเข้าไปได้ และถ้ารับเข้าไปในร่างกายปริมาณมากอาจทำให้ถึงตายได้


4.9 การลดอันตรายการเกิดขึ้นกับมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อมเนื่องจากสารเคมี
ในปัจจุบันการลดการใช้สารเคมีอาจทำได้โดยใช้สารธรรมชาติจากพืชบางชนิดในการกำจัดแมลงและศัตรูพืช ได้แก่ สะเดา เปลือกส้มเขียวหวาน ยูคาลิปตัส ใบยาสูบ เป็นต้น สารเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมากเหมือนใช้สารเคมีในการกำจัด
การใช้สารที่สกัดจากพืชเพื่อฆ่าแมลงและศัตรูพืชนั้นจะช่วยให้ลดปริมาณการใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงและศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี เนื่องจากสลายตัวได้เร็วจึงเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมน้อย แต่การใช้สารสกัดจากธรรมชาติมีข้อจำกัด เพราะมีฤทธิ์ในการทำลายศัตรูพืชน้อย จึงต้องทำบ่อยครั้ง และใช้ปริมาณมาก


ข้อคำนึงในการใช้สารธรรมชาติจากพืช


ในการใช้สารธรรมชาติจากพืชเพื่อควบคุมศัตรูพืชนั้น ต้องคำนึงถึงชนิดของพืชที่จะนำไปสกัดวิธีการสกัด และวิธีการนำไปใช้ การเลือกพืชที่จะมาควบคุมหรือฆ่าแมลงและศัตรูพืชนั้นควรเป็นพืชในท้องถิ่นเนื่องจากต้องใช้ปริมาณมาก นอกจากนี้ ผู้ใช้ต้องทราบว่าพืชชนิดใดบ้างที่มีพืชต่อแมลงและศัตรูพืช และพืชชนิดนั้นสะสมพิษไว้มากที่สุดที่ส่วนใด เช่น


1. หนอนตายยาก สะสมพิษไว้ที่หัวและลำต้น
2. ยางน่อง สะสมพิษไว้ที่ต้นอ่อน
3. กลอยและแห้วหมู สะสมพิษไว้ที่หัว
4. หางไหลแดง หญ้าคา และหญ้าปันยอด สะสมพิษไว้ที่ราก
5. รำเพย น้อยหน่า สะสมพิษไว้ที่เปลือกและเมล็ด
6. ทานตะวัน สะสมพิษไว้ที่ดอก

อ้างอิง
http://ednet.kku.ac.th/~sumcha/chem/pages/content-pb4_1.htm

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น