วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สัญลักษณ์เตือนสารเคมีอันตราย

สัญลักษณ์เตือนสารเคมีอันตราย

เป็นเครื่องหมายสากลที่เข้าใจง่าย อาจใช้สีพื้นหรือข้อความที่แตกต่างกัน เพื่อให้ทราบถึงอันตรายของสารเคมี ซึ่งระบบสัญลักษณ์แสดงอันตรายที่รู้จักและนิยมใช้มีหลายระบบ เช่น ระบบ UN ระบบ NFPA (The National Fire Protection Association) ของสหรัฐอเมริกา ระบบ EEC และระบบ GHS เป็นต้น ซึ่งสัญลักษณ์ของทั้ง 4 ระบบนั้น มีดังนี้


1. ระบบ UN - United Nations Committee of Experts on the Transport of Dangerous Goods ได้จำแนกวัตถุอันตรายออกเป็น 9 ประเภท ตามลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสี่ยงในการเกิดอันตราย รวมทั้งกำหนดสัญลักษณ์อันตราย เพื่อใช้ในการขนส่ง ดังนี้ http://www.chemtrack.org/UNClass-Intro.asp

2. ระบบ NFPA - The National Fire Protection Association ของสหรัฐอเมริกา กำหนดสัญลักษณ์แสดงอันตรายเป็นรูปเพชร (Diamond-shape) เพื่อใช้ในการป้องกันและตอบโต้เหตุเพลิงไหม้ สัญลักษณ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่วางตั้งตามแนวเส้นทะแยงมุม ภายในแบ่งออกเป็นสี่เหลี่ยมย่อยขนาดเท่ากัน 4 รูป ใช้พื้นที่กำกับ 4 สี ได้แก่ สีแดง แสดงอันตรายจากไฟ (Flammability) สีน้ำเงิน แสดงอันตรายต่อสุขภาพ (Health) สีเหลือง แสดงความไวต่อปฏิกริยาของสาร (Reactivity) สีขาวแสดงคุณสมบัติพิเศษของสาร และใช้ตัวเลข 0 ถึง 4 แสดงถึงระดับอันตราย

ดังรูปที่ 1






รูปที่ 1 สัญลักษณ์ของระบบ NFPA


3. ระบบ EEC ตามข้อกำหนดของประชาคมยุโรป ที่ 67/548/EEC สัญลักษณ์แสดงอันตรายจะแบ่งออกตามประเภทของอันตราย โดยใช้รูปภาพสีดำเป็นสัญลักษณ์แสดงอันตรายบนพื้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีส้ม และมีอักษรย่อกำกับที่มุมขวา ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้ปรากฎอยู่ที่ฉลากของสารเคมีที่ใช้ในสหภาพยุโรป สัญลักษณ์ดังกล่าวแสดงดังตารางที่ 1

4. ระบบ GHS – GHS (The Globally Harmonized System of Classification and Labeling of Chemicals) เป็นระบบการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีและการติดฉลากที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดขึ้น เพื่อให้เป็นระบบสากลในการจําแนกหรือการจัดกลุ่มความเปนอันตรายและการสื่อสารความเปนอันตรายของสารเคม ี ในรูปแบบของการแสดงฉลากและเอกสารขอมูลความปลอดภัยในการทํางานกับสารเคมี (Safety Data Sheet, SDS) ที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก ซึ่งสัญลักษณ์ที่ปรากฏในระบบ GHS นั้น หากไม่นับรวมสัญลักษณ์ใหม่ที่ทำขึ้นมาใช้สำหรับความเป็นอันตรายต่อสุขภาพบางชนิด เครื่องหมายตกใจ (exclamation mark) และปลากับต้นไม้ (fish and tree) สัญลักษณ์มาตรฐานดังกล่าวได้มีการนำมาใช้ในข้อกำหนดของสหประชาชาติที่เป็นต้นแบบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย (ระบบ UN ที่กล่าวข้างต้น) อยู่แล้ว สัญลักษณ์โดยสรุปแสดงดังตารางที่ 1 โดยที่แผนการดำเนินงานของที่ประชุมสุดยอดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (WSSD) ซึ่งจัดทำขึ้นที่กรุงโยฮันเนสเบิร์ก เมื่อปี 2545 สนับสนุนให้ประเทศต่างๆ มีการนำระบบ GHS นี้ไปปฏิบัติให้เร็วที่สุด โดยมีแนวทางให้นำระบบนี้ไปใช้ได้อย่างสมบูรณ์ภายในปี 2551

สัญลักษณ์ทั้ง 4 ระบบนี้ จะปรากฎบนฉลากผลิตภัณฑ์และหีบห่อเพื่อประโยชน์ในการจัดการเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยและตอบโต้เหตุฉุกเฉิน รวมทั้งประโยชน์ในการจัดเก็บตามชนิดของอันตรายของสารเคมี ตัวอย่างฉลากสารเคมีที่มีสัญลักษณ์แสดงความอันตราย แสดงดังรูปที่ 2 ถึงรูปที่ 5

ตารางที่ 1 แสดงรายละเอียดข้อมูลอันตรายและการเปรียบเทียบกับสัญลักษณ์ของระบบต่างๆ โดยสรุป





                                              รูปที่ 2 ตัวอย่างฉลากขวดสารเคมีของ Merck




                                       รูปที่ 3 ตัวอย่างฉลากขวดสารเคมีของ CARLO ERBA




                                     รูปที่ 4 ตัวอย่างฉลากที่แสดงสัญลักษณ์ตามระบบ NFPA




                                       รูปที่ 5 ตัวอย่างฉลากที่แสดงสัญลักษณ์ตามระบบ GHS



แหล่งอ้างอิง :


กรมโรงงานอุตสาหกรรม
http://www2.diw.go.th/haz/hazard/Libary/chem_label.htm
กรมโรงงานอุตสาหกรรม
http://www.diwsafety.org/add_ghs/ghs_regulation_thai.htm
กรมศุลกากร
http://www.customs.go.th/jsp/Hazard/Mark.jsp
ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุรนารี http://203.158.2.209/Knowledge/chemical.mht
ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา
http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_3_003c.asp?info_id=118
หจก.อนุสรณ์โปรดักส์
www.anusorn.com
บริษัท เคมแคร์ เอเชีย คอนซัลแทนซ์
(Chemcare Asia Consultants)
www.chemcareasia.com/thailand/product2.html
กรมโรงงานอุตสาหกรรม. การจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก (Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals - GHS). 2548.

2 ความคิดเห็น:

ultraman กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับเนื้อหานะค่ะ

น.ส.ระติมา ทักขิโน กล่าวว่า...

มีสารน่าสนใจมาก


เนื้อหาให้ความรู้มากค่ะ

แสดงความคิดเห็น