วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สัญลักษณ์เตือนสารเคมีอันตราย

สัญลักษณ์เตือนสารเคมีอันตราย

เป็นเครื่องหมายสากลที่เข้าใจง่าย อาจใช้สีพื้นหรือข้อความที่แตกต่างกัน เพื่อให้ทราบถึงอันตรายของสารเคมี ซึ่งระบบสัญลักษณ์แสดงอันตรายที่รู้จักและนิยมใช้มีหลายระบบ เช่น ระบบ UN ระบบ NFPA (The National Fire Protection Association) ของสหรัฐอเมริกา ระบบ EEC และระบบ GHS เป็นต้น ซึ่งสัญลักษณ์ของทั้ง 4 ระบบนั้น มีดังนี้


1. ระบบ UN - United Nations Committee of Experts on the Transport of Dangerous Goods ได้จำแนกวัตถุอันตรายออกเป็น 9 ประเภท ตามลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสี่ยงในการเกิดอันตราย รวมทั้งกำหนดสัญลักษณ์อันตราย เพื่อใช้ในการขนส่ง ดังนี้ http://www.chemtrack.org/UNClass-Intro.asp

2. ระบบ NFPA - The National Fire Protection Association ของสหรัฐอเมริกา กำหนดสัญลักษณ์แสดงอันตรายเป็นรูปเพชร (Diamond-shape) เพื่อใช้ในการป้องกันและตอบโต้เหตุเพลิงไหม้ สัญลักษณ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่วางตั้งตามแนวเส้นทะแยงมุม ภายในแบ่งออกเป็นสี่เหลี่ยมย่อยขนาดเท่ากัน 4 รูป ใช้พื้นที่กำกับ 4 สี ได้แก่ สีแดง แสดงอันตรายจากไฟ (Flammability) สีน้ำเงิน แสดงอันตรายต่อสุขภาพ (Health) สีเหลือง แสดงความไวต่อปฏิกริยาของสาร (Reactivity) สีขาวแสดงคุณสมบัติพิเศษของสาร และใช้ตัวเลข 0 ถึง 4 แสดงถึงระดับอันตราย

ดังรูปที่ 1






รูปที่ 1 สัญลักษณ์ของระบบ NFPA


3. ระบบ EEC ตามข้อกำหนดของประชาคมยุโรป ที่ 67/548/EEC สัญลักษณ์แสดงอันตรายจะแบ่งออกตามประเภทของอันตราย โดยใช้รูปภาพสีดำเป็นสัญลักษณ์แสดงอันตรายบนพื้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีส้ม และมีอักษรย่อกำกับที่มุมขวา ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้ปรากฎอยู่ที่ฉลากของสารเคมีที่ใช้ในสหภาพยุโรป สัญลักษณ์ดังกล่าวแสดงดังตารางที่ 1

4. ระบบ GHS – GHS (The Globally Harmonized System of Classification and Labeling of Chemicals) เป็นระบบการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีและการติดฉลากที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดขึ้น เพื่อให้เป็นระบบสากลในการจําแนกหรือการจัดกลุ่มความเปนอันตรายและการสื่อสารความเปนอันตรายของสารเคม ี ในรูปแบบของการแสดงฉลากและเอกสารขอมูลความปลอดภัยในการทํางานกับสารเคมี (Safety Data Sheet, SDS) ที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก ซึ่งสัญลักษณ์ที่ปรากฏในระบบ GHS นั้น หากไม่นับรวมสัญลักษณ์ใหม่ที่ทำขึ้นมาใช้สำหรับความเป็นอันตรายต่อสุขภาพบางชนิด เครื่องหมายตกใจ (exclamation mark) และปลากับต้นไม้ (fish and tree) สัญลักษณ์มาตรฐานดังกล่าวได้มีการนำมาใช้ในข้อกำหนดของสหประชาชาติที่เป็นต้นแบบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย (ระบบ UN ที่กล่าวข้างต้น) อยู่แล้ว สัญลักษณ์โดยสรุปแสดงดังตารางที่ 1 โดยที่แผนการดำเนินงานของที่ประชุมสุดยอดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (WSSD) ซึ่งจัดทำขึ้นที่กรุงโยฮันเนสเบิร์ก เมื่อปี 2545 สนับสนุนให้ประเทศต่างๆ มีการนำระบบ GHS นี้ไปปฏิบัติให้เร็วที่สุด โดยมีแนวทางให้นำระบบนี้ไปใช้ได้อย่างสมบูรณ์ภายในปี 2551

สัญลักษณ์ทั้ง 4 ระบบนี้ จะปรากฎบนฉลากผลิตภัณฑ์และหีบห่อเพื่อประโยชน์ในการจัดการเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยและตอบโต้เหตุฉุกเฉิน รวมทั้งประโยชน์ในการจัดเก็บตามชนิดของอันตรายของสารเคมี ตัวอย่างฉลากสารเคมีที่มีสัญลักษณ์แสดงความอันตราย แสดงดังรูปที่ 2 ถึงรูปที่ 5

ตารางที่ 1 แสดงรายละเอียดข้อมูลอันตรายและการเปรียบเทียบกับสัญลักษณ์ของระบบต่างๆ โดยสรุป





                                              รูปที่ 2 ตัวอย่างฉลากขวดสารเคมีของ Merck




                                       รูปที่ 3 ตัวอย่างฉลากขวดสารเคมีของ CARLO ERBA




                                     รูปที่ 4 ตัวอย่างฉลากที่แสดงสัญลักษณ์ตามระบบ NFPA




                                       รูปที่ 5 ตัวอย่างฉลากที่แสดงสัญลักษณ์ตามระบบ GHS



แหล่งอ้างอิง :


กรมโรงงานอุตสาหกรรม
http://www2.diw.go.th/haz/hazard/Libary/chem_label.htm
กรมโรงงานอุตสาหกรรม
http://www.diwsafety.org/add_ghs/ghs_regulation_thai.htm
กรมศุลกากร
http://www.customs.go.th/jsp/Hazard/Mark.jsp
ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุรนารี http://203.158.2.209/Knowledge/chemical.mht
ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา
http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_3_003c.asp?info_id=118
หจก.อนุสรณ์โปรดักส์
www.anusorn.com
บริษัท เคมแคร์ เอเชีย คอนซัลแทนซ์
(Chemcare Asia Consultants)
www.chemcareasia.com/thailand/product2.html
กรมโรงงานอุตสาหกรรม. การจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก (Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals - GHS). 2548.

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Chemistry

อันตรายของโรงงานที่ผลิตสารเคมี



การตรวจหาสารเมทานอลในเครื่องสำอาง



อ้างอิง
http://www.youtube.com

เครื่องสำอาง

5.1 ความหมายของเครื่องสำอาง

เครื่องสำอาง หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบร่างกาย เพื่อใช้ทำความสะอาดเพื่อให้เกิดความสดชื่น ความสวยงาม และเพิ่มความมั่นใจ

5.2 ประเภทของเครื่องสำอาง แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ

1 ) สำหรับผม เช่น แชมพู ครีมนวด เจลแต่งผม ฯลฯ


2 ) สำหรับร่างกาย เช่น สบู่ ครีม และโลชั่นทาผิว ยาทาเล็บ น้ำยาดับกลิ่นตัว แป้งโรยตัว ฯลฯ


3 ) สำหรับใบหน้า เช่น ครีม โฟมล้างหน้า แป้งผัดหน้า ลิปสติก ดินสอเขียนคิ้วและดินสอเขียนขอบตา


4 ) น้ำหอม


5 ) เบ็ดเตล็ด เช่น ครีมโกนหนวด ผ้าอนามัย ยาสีฟัน ฯลฯ

5.3 ประโยชน์ของเครื่องสำอาง

1 ) ช่วยทำความสะอาดส่วนต่างๆ ของร่างกาย


2 ) ช่วยทำให้ใบหน้า ผิวพรรณสวยงาม


3 ) ช่วยตกแต่งส่วนที่ไม่สวยงามให้เหมือนธรรมชาติ


4 ) ช่วยให้ร่างกายหอมสดชื่น ระงับกลิ่นกาย


5 ) ช่วยตกแต่งผมให้สวยงาม อยู่ทรง


6 ) ช่วยป้องกันผิวไม่ให้แห้ง


5.4 อันตรายของเครื่องสำอาง


เครื่องสำอางอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ ส่วนใหญ่เกิดอาการอักเสบ เป็นผื่นแดง เป็นเม็ดหรือตุ่มคัน
เกิดอาการแก้ต่อผิวหนัง เยื่อตา บางชนิดทำให้ผมร่วง บางชนิดทำให้เกิดอาการอักเสบรุนแรง แผลเน่าเปื่อย เป็นเพราะเครื่องสำอางมีส่วนผสมของสารที่ก่อให้เกิดอาการอักเสบ อาการแพ้เครื่องสำอางจะเกิดขึ้นกับคนบางคนเท่านั้น ก่อนตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางควรเลือกเครื่องสำอางที่ผ่าน การตรวจรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) และทดสอบใช้ก่อนว่าเหมาะสมกับตัวเองหรือไม่ เกิด อาการแก้หรืออักเสบหรือไม่




http://ednet.kku.ac.th/~sumcha/chem/pages/content-pb5_1.htm
http://www.doctor.or.th/node/4380

ต่อ

3. สารทำความสะอาด

3.1 ความหมายของสารทำความสะอาด
สารทำความสะอาด หมายถึง คุณสมบัติในการกำจัดความสกปรกต่างๆ ตลอดจนฆ่าเชื้อโรค


3.2 ประเภทของสารทำความสะอาด
แบ่งตามการเกิด ได้ 2 ประเภท คือ
1) ได้จากการสังเคราะห์ เช่น น้ำยาล้างจาน สบู่ก้อน สบู่เหลว แชมพูสระผม ผงซักฟอก สารทำความสะอาดพื้นเป็นต้น
2) ได้จากธรรมชาติ เช่น น้ำมะกรูด มะขามเปียก เกลือ เป็นต้น


แบ่งตามวัตถุประสงค์ในการใช้งานเป็นเกณฑ์ แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. สารประเภททำความสะอาดร่างกาย ได้แก่ สบู่ แชมพูสระผม เป็นต้น
2. สารประเภททำความสะอาดเสื้อผ้า ได้แก่ สารซักฟอกชนิดต่างๆ
3. สารประเภททำความสะอาดภาชนะ ได้แก่ น้ำยาล้างจาน เป็นต้น
4. สารประเภททำความสะอาดห้องน้ำ ได้แก่ สารทำความสะอาดห้องน้ำทั้งชนิดผงและชนิดเหลว


3.3 สมบัติของสารทำความสะอาด
สารทำความสะอาด เช่น สบู่ แชมพูสระผม สารล้างจาน สารทำความสะอาดห้องน้ำ สารซักฟอก บางชนิดมีสมบัติเป็นกรด บางชนิดมีสมบัติเป็นเบสซึ่งทดสอบได้ด้วยกระดาษลิตมัส สารทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์บางชนิดมีสมบัติเป็นกรด สามารถกัดกร่อนหินปูนที่ยาไว้ระหว่างกระเบื้องปูพื้นหรือฝาห้องน้ำบริเวณเครื่องสุขภัณฑ์ ทำให้คราบสกปรกที่เกาะอยู่หลุดลอกออกมาด้วย ถ้าใช้สารชนิดนี้ไปนานๆ พื้นและฝาห้องน้ำจะสึกกร่อนไปด้วย นอกจากนี้ ยังทำให้ผู้ใช้เกิดความระคายเคืองของระบบทางเดินหายใจและผิวหนังอีกด้วย ดังนั้น ในการใช้ต้องระมัดระวังโดยปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้อย่างเคร่งครัดและต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม การใช้ในปริมาณมากเกินไป ไม่ได้หมายความว่าจะช่วยทำความสะอาดได้มากขึ้น ในทางตรงกันข้าม อาจทำให้สิ้นเปลืองและทำลายสิ่งแวดล้อม ส่วนสารทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์

4. สารกำจัดแมลง และสารกำจัดศัตรูพืช

4.1 ความหมายของสารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช
สารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช หมายถึง สารเคมีที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ป้องกันการกำจัด และควบคุมแมลงต่างๆ ไม่ให้มารบกวน มีทั้งชนิดผง ชนิดเม็ด และชนิดน้ำ


4.2 ประเภทของ สารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ


1. ได้จากการสังเคราะห์ เช่น สารฆ่ายุง สารกำจัดแมลง เป็นต้น
2. ได้จากธรรมชาติ เช่น เปลือกมะนาว เปลือกมะกรูด เปลือกส้ม เป็นต้น

4.3 ประโยชน์ของสารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช


1) กำจัด ควบคุม ป้องกันแมลง เพลี้ย และหนอนที่เป็นศัตรูพืช และเป็นอันตรายต่อคน
2) ช่วยให้พืชเจริญเติบโต
3) ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น


4.4 อันตรายของสารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช
1) เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ถ้าผู้ใช้ขาดความระมัดระวัง หรือถ้าใช้ไม่ถูกวิธี
2) สิ่งแวดล้อมเสียสมดุล ถ้าสารกระจายในอากาศ หรือสะสมตกค้างในน้ำ ในดิน
3) ทำให้ร่างกายทำงานผิดปกติ ถ้ามีสารสะสมในร่างกาย และถึงแก่ความตายได้ เมื่อบริโภค สารที่ตกค้างในพืช หรือส่วนต่างๆ ของพืช


4.5 การใช้สารกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคในบ้าน
สารเคมีที่ใช้ฆ่าแมลงในบ้านมีหลายรูปแบบ ทั้งแบบที่เป็นกระป๋องใช้ฉีดพ่น แบบเป็นก้อนใส่ไว้ในกล่องเพื่อล่อแมลงให้เข้าไปติดอยู่ในนั้น หรือเป็นแท่งชอล์ก สำหรับขีดไปบนพื้นหรือตามบริเวณที่ไม่ต้องการให้แมลงเข้าไปอาศัย ซึ่งมีวิธีการใช้งานดังนี้
1) ฉีด พ่นสารบริเวณที่เป็นซอกมุม ใต้โต๊ะ หรือตามผนัง
2) เก็บภาชนะใส่อาหารให้เรียบร้อย ปิดขวดหรือภาชนะใส่น้ำก่อนฉีดสาร
3) ขณะฉีดพ่นไม่ควรให้เด็กหรือสัตว์เลี้ยงอยู่บริเวณที่ฉีด และฉีดต่ำๆ ไม่ควรฉีด พ่นในอากาศเหมือนอย่างโฆษณาในโทรทัศน์ เพราะสารเคมีจะฟุ้งไปในอากาศ
4) หลังฉีดพ่นแล้วประมาณ 2-3 ชั่วโมง จึงใช้บริเวณนั้นได้
5) เมื่อฉีดพ่นเสร็จแล้ว รีบล้างมือให้สะอาดทันที

4.6 วิธีการใช้สารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืชในการเกษตร
เนื่องจากสารกำจัดศัตรูพืชเป็นสารที่มีพิษ มีอันตรายมาก ก่อนใช้สารเหล่านี้ต้องอ่านฉลากบนภาชนะบรรจุสารให้ละเอียดเสียก่อนซึ่งบนฉลากจะมีคำอธิบายวิธีใช้สารพิษ และวิธีป้องกัน ตลอดจนวิธีปฐมพยาบาลเมื่อเกิดอาการผิดปกติเนื่องจากการใช้สารเคมี ภาชนะที่บรรจุสารกำจัดศัตรูพืช นอกจากจะมีคำอธิบายการใช้ การเก็บรักษา ตลอดจนคำเตือนแล้ว ทางสมาคมผู้ผลิตสารเคมีเกษตรแห่งชาติ และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้ออกภาพเพื่อช่วยให้เกษตรกรเข้าใจง่ายขึ้น

1) ศึกษาวิธีใช้บนฉลากให้เข้าใจและใช้ตามคำแนะนำที่ได้บอกไว้
2) ควรเลือกใช้สารกำจัดแมลงให้เหมาะสมกับชนิดของแมลง
3) ควรหลีกเลี่ยงสารกำจัดแมลงพวกดีดีทีเพราะสลายตัวยาก ทำให้สารตกค้างในธรรมชาตินานจนเกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
4) แต่งกายให้มิดชิด สวมถุงมือยางใช้ผ้าปิดจมูกและปาก เมื่อฉีดเสร็จแล้วต้องเก็บอุปกรณ์เข้าที่ อาบน้ำให้สะอาด
5) ขณะฉีดพ่น ต้องยืนเหมือนลมเสมอ
6) หลักจากฉีดพ่นสารกำจัดแมลงแล้ว ควรทิ้งระยะเวลาอย่างน้อย 7 วัน จึงเก็บพืชผลได้


4.7 วิธีการเก็บรักษาสารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืชให้ปลอดภัย
การเก็บรักษาสารเคมีเพื่อฆ่าแมลงในบ้านและฆ่าศัตรูพืชต้องทำให้ถูกวิธี โดยเก็บในที่มิดชิด ควรแยกเก็บต่างหากจากสารอื่น ป้องกันไม่ให้ถูกแดดและฝน ห้ามถ่ายใส่ขวดอื่น เพราะอาจเผลอหรือมีผู้ไม่รู้หยิบไปใช้เนื่องจากคิดว่าเป็นสารของขวดเดิมซึ่งจะเป็นอันตรายได้ ขวดหรือกระป๋องที่ใช้หมดแล้วต้องนำไปฝังอย่างมิดชิด ห้ามนำไปใช้บรรจุสิ่งอื่นใดต่อ ห้ามทิ้งในกองขยะหรือแหล่งน้ำ หรือเผาไฟ

4.8 ผลกระทบของการใช้ สารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช ที่มีต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
(1) ผลจากการที่ร่างกายได้รับสารตกค้างสารกำจัดศัตรูพืชบางชนิดจะสลายตัวเร็ว บางชนิดสลายตัวช้า เกษตรกรบางคนใช้สารกำจัดศัตรูพืชเข้มข้นมากกว่า 2 ชนิดผสมกัน ทำให้ยากต่อการกำหนดระยะเวลาสลายตัวของสาร ถ้าร่างกายรับสารเหล่านี้เข้าไปจะก่อให้เกิดอันตราย แต่อาจขึ้นอยู่กับบุคคล ชนิด ปริมาณของสาร และความรุนแรงของสารชนิดนั้นๆ อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ปวดศีรษะ อาเจียน ชัก หมดสติ เป็นต้น
ก่อนใช้จำเป็นต้องศึกษาฉลากให้เข้าใจและปฏิบัติตนตามข้อแนะนำในฉลากอย่างเคร่งครัด ส่วนผักและผลไม้ก่อนรับประทานต้องล้างเพื่อลดปริมาณของสารตกค้างเสียก่อน นอกจากสารเคมีกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืชจะเป็นอันตรายต่อคนแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อสัตว์และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ดังตัวอย่างการกินต่อเป็นทอดๆ ของระบบนิเวศหนึ่งดังนี้


(2) ผลของสารกำจัดแมลงต่อสิ่งแวดล้อม
จากตัวอย่างการกินต่อเป็นทอดๆ ของระบบนิเวศหนึ่ง จะเห็นว่าเมื่อไก่กินพืชเป็นอาหารจะได้รับสารกำจัดศัตรูพืชเข้าไปสะสมในร่างกาย เมื่อคนรับประทานไก่เข้าไปก็จะได้รับสารพิษจากไก่นานๆ เข้าจะทำให้มีผลต่อสุขภาพของคน ส่วนหนอนเมื่อกินพืชเข้าไปจะได้รับสารพิษ ต่อมานกมากินหนอนก็จะได้รับสารพิษจากหนอนด้วย นกบางชนิดเมื่อได้รับสารฆ่าศัตรูพืชเข้าไปสะสมในร่างกายจะมีผลทำให้ไข่มีเปลือกบาง เปลือกไข่จะแตกก่อนที่ลูกนกจะเจริญเติบโตส่วนผึ้งเมื่อได้รับสารพิษจากพืชมากขึ้น ในที่สุดจะลดจำนวนลงและไม่มีผึ้งช่วยผสมเกสรให้กับไม้ผล ทำให้ไม้ผลชนิดนั้นไม่ติดผลเท่าที่ควรสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่ต้องอาศัยพืชชนิดนี้เป็นอาหารก็จะมีอาหารลดลง รวมทั้งมนุษย์ด้วย นอกจากนี้ยังทำให้ไม้ผลไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้เท่าที่ควร


(3) ผลของสารกำจัดแมลงที่มีต่อดิน
นอกจากสารฆ่าศัตรูพืชจะสามารถตกค้างในพืชแล้ว ยังสามารถตกค้างในดิน และน้ำได้อีกด้วย เมื่อสารฆ่าศัตรูพืชตกลงบนดินและสะสมในดินปริมาณมากขึ้นจะไปทำลายจุลินทรีย์บางชนิดที่ช่วยย่อยสลายเศษใบไม้และซากสัตว์ให้กลายเป็นปุ๋ยจะทำให้ดินจับตัวแน่นแข็ง น้ำและอากาศผ่านเข้าไปไม่ได้ ดังนั้นจึงไม่เหมาะในการเพาะปลูก และยังมีผลต่อสัตว์ที่อาศัยในดินและให้ประโยชน์ต่อพืช จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ดินไม่เหมาะในการเพาะปลูก


(4) ผลของสารกำจัดแมลงที่มีต่อน้ำ
เมื่อสารฆ่าศัตรูพืชถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำมีผลทำให้สิ่งมีชีวิตทั้งพืชน้ำและสัตว์น้ำได้รับสารดังกล่าวเข้าไปสะสม เมื่อสัตว์กินพืชหรือสัตว์เข้าไปจะทำให้สัตว์นั้นมีสารฆ่าศัตรูพืชเข้าไปสะสมมาก เมื่อคนรับประทานสัตว์นั้นก็จะได้รับสารพิษเข้าไป ซึ่งร่างกายของมนุษย์สามารถขับสารพิษออกจากร่างกายได้ส่วนหนึ่ง แต่บางส่วนจะสะสมอยู่ในร่างกาย เมื่อคนได้รับสารพิษอยู่เป็นประจำ พิษนั้นจะสะสมมากขึ้นจนเป็นอันตรายได้


(5) ผลของสารกำจัดแมลงที่มีต่อคนและสัตว์เลี้ยงในบ้าน
เมื่อฉีดสารเคมี นอกจากคนจะสูดกลิ่นและพิษเข้าไปแล้ว สัตว์เลี้ยงในบ้านก็จะได้รับสารพิษเข้าไปด้วย สารเคมีที่เป็นก้อนวางไว้ตามซอก หรือที่เป็นแท่งแล้วในขีดบนพื้นหรือบริเวณที่ต้องการนั้น สัตว์บางตัวอาจกัด กินหรือเลียสารเคมีเข้าไปได้ และถ้ารับเข้าไปในร่างกายปริมาณมากอาจทำให้ถึงตายได้


4.9 การลดอันตรายการเกิดขึ้นกับมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อมเนื่องจากสารเคมี
ในปัจจุบันการลดการใช้สารเคมีอาจทำได้โดยใช้สารธรรมชาติจากพืชบางชนิดในการกำจัดแมลงและศัตรูพืช ได้แก่ สะเดา เปลือกส้มเขียวหวาน ยูคาลิปตัส ใบยาสูบ เป็นต้น สารเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมากเหมือนใช้สารเคมีในการกำจัด
การใช้สารที่สกัดจากพืชเพื่อฆ่าแมลงและศัตรูพืชนั้นจะช่วยให้ลดปริมาณการใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงและศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี เนื่องจากสลายตัวได้เร็วจึงเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมน้อย แต่การใช้สารสกัดจากธรรมชาติมีข้อจำกัด เพราะมีฤทธิ์ในการทำลายศัตรูพืชน้อย จึงต้องทำบ่อยครั้ง และใช้ปริมาณมาก


ข้อคำนึงในการใช้สารธรรมชาติจากพืช


ในการใช้สารธรรมชาติจากพืชเพื่อควบคุมศัตรูพืชนั้น ต้องคำนึงถึงชนิดของพืชที่จะนำไปสกัดวิธีการสกัด และวิธีการนำไปใช้ การเลือกพืชที่จะมาควบคุมหรือฆ่าแมลงและศัตรูพืชนั้นควรเป็นพืชในท้องถิ่นเนื่องจากต้องใช้ปริมาณมาก นอกจากนี้ ผู้ใช้ต้องทราบว่าพืชชนิดใดบ้างที่มีพืชต่อแมลงและศัตรูพืช และพืชชนิดนั้นสะสมพิษไว้มากที่สุดที่ส่วนใด เช่น


1. หนอนตายยาก สะสมพิษไว้ที่หัวและลำต้น
2. ยางน่อง สะสมพิษไว้ที่ต้นอ่อน
3. กลอยและแห้วหมู สะสมพิษไว้ที่หัว
4. หางไหลแดง หญ้าคา และหญ้าปันยอด สะสมพิษไว้ที่ราก
5. รำเพย น้อยหน่า สะสมพิษไว้ที่เปลือกและเมล็ด
6. ทานตะวัน สะสมพิษไว้ที่ดอก

อ้างอิง
http://ednet.kku.ac.th/~sumcha/chem/pages/content-pb4_1.htm

สารเคมีในชีวิตประจำวัน

สารเคมีในชีวิตประจำวัน


ในชีวิตประจำวัน เราจะต้องเกี่ยวข้องกับสารหลายชนิด ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน สารที่ใช้ในชีวิตประจำวันจะมีสารเคมีเป็นองค์ประกอบ ซึ่งสามารถจำแนกเป็นสารสังเคราะห์และสารธรรมชาติ เช่น สารปรุงรสอาหาร สารแต่งสีอาหาร สารทำความสะอาด สารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น ในการจำแนกสารเคมีเป็นพวกๆ นั้นเราใช้


วัตถุประสงค์ในการใช้เป็นเกณฑ์การจำแนก ดังรายละเอียดต่อไปนี้


1. สารปรุงแต่งอาหารู้

1.1 ความหมายสารปรุงแต่งอาหาร
สารปรุงแต่งอาหาร หมายถึง สารปรุงรสอาหารใช้ใส่ในอาหารเพื่อทำให้อาหารมีรสดีขึ้น เช่น น้ำตาล น้ำปลา น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว ซอสมะเขือเทศ และให้รสชาติต่างๆ เช่น
- น้ำตาล ให้รสหวาน
- เกลือ น้ำปลา ให้รสเค็ม
- น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว ซอสมะเขือเทศ ให้รสเปรี้ยว


1.2 ประเภทของสารปรุงแต่งอาหาร แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ได้จากการสังเคราะห์ เช่น น้ำส้มสายชู น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสมะเขือเทศ เป็นต้น
2. ได้จากธรรมชาติ เช่น เกลือ น้ำมะนาว น้ำมะขามเปียก อัญชัน เป็นต้น


1.3 การทดสอบสมบัติของสาร
นอกจากสารปรุงรสอาหารจะช่วยให้อาหารมีรสดีขึ้นแล้วยังมีสมบัติความเป็นกรด เป็นเบสต่างกัน สามารถทดสอบได้โดยนำสารแต่ละชนิดมาแตะบนกระดาษลิตมัส ซึ่งสารบางชนิดทำให้กระดาษลิตมัสสีน้ำเงิน เปลี่ยนเป็นสีแดง สารบางชนิดทำให้กระดาษลิตมัสสีแดงเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน แต่บางชนิดไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสารที่มีสมบัติเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากแดงเป็นน้ำเงินจัดว่าเป็นสารที่มีสมบัติเป็นเบส ส่วนสารที่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดงจัดว่าเป็นสารที่มีสมบัติเป็นกรด และสารที่ไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสเลยจัดเป็นสารที่มีสมบัติเป็นกลาง


เมื่อนำสารปรุงรสอาหารมาทดสอบหาสมบัติความเป็นกรด เป็นเบสสามารถจำแนกได้ว่า


- น้ำมะนาว น้ำมะขามเปียก น้ำส้มสายชู ซอสมะเขือเทศ มีสมบัติเป็นกรด


- น้ำปลา เกลือ น้ำตาล มีสมบัติเป็นกลาง


- สารปรุงรสอาหารส่วนใหญ่ไม่มีสมบัติความเป็นเบส


ในการจำแนกสมบัติความเป็นกรด เป็นเบสของสารต่าง ๆ นิยมใช้กระดาษลิตมัส แต่ถ้าไม่มีกระดาษลิตมัสสีแดงและสีน้ำเงิน เราสามารถทดสอบโดยใช้สารสกัดจากพืชโดยนำมาบดแล้วเติมน้ำ จากนั้นกรองเอากากออก เอาน้ำสีที่ได้มาใช้ทดสอบกรด-เบส แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสี
นอกจากพืชดังกล่าวแล้วในท้องถิ่นยังอาจมีพืชชนิดอื่นๆ อีกที่ใช้ทดสอบความเป็นกรด-เบสได้ ในการนำพืชมาใช้ทดสอบความเป็นกรด-เบส จะต้องทดสอบและสังเกตสีที่เกิดขึ้นโดยใช้สารที่ทราบแน่ชัดว่าเป็นกรดหรือเป็นเบส เช่น ใช้น้ำมะนาวซึ่งเป็นกรด และสารละลายผงฟูซึ่งเป็นเบสก่อนที่จะนำไปใช้
โดยทั่วไปการทดสอบกรด-เบส ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นพลาสติก ควรใช้ภาชนะที่เป็นแก้ว เนื่องจากอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี ซึ่งจะทำให้ผลผิดพลาด แต่ถ้าใช้ทดสอบสารที่มีความเป็นกรด-เบสที่อ่อนมากสามารถใช้จานหลุมพลาสติกได้

1.4 ตัวอย่างของสารปรุงแต่งอาหาร


1) น้ำส้มสายชู เป็นสารเคมีที่ใช้ปรุงอาหาร ทำให้สารอาหารมีรสเปรี้ยว มี 2 ชนิด คือ อาจจำแนกได้ดังนี้


1. น้ำส้มสายชูแท้ ได้จากการหมักธัญพืชหรือผลไม้ มีทั้งชนิดกลั่นและชนิดไม่กลั่นสารที่เป็นกรดนั้น จะทำปฏิกิริยากับโลหะด้วย ดังนั้น ภาชนะที่ใส่น้ำส้มสายชูจึงไม่ควรเป็นโลหะหรือกระเบื้อง ควรเป็นภาชนะแก้ว และในการใช้น้ำส้มสายชูแท้หรือน้ำส้มสายชูเทียมที่มีความเข้มข้นมาก ปรุงรสอาหารก็จะเป็นอันตรายแก่ร่างกายได้เช่นเดียวกัน ถ้าต้องการให้อาหารที่รับประทานมี รสเปรี้ยวกลมกล่อมควรใช้น้ำมะนาวหรือน้ำมะขามเปียกซึ่งได้จากธรรมชาติแทนจะปลอดภัยกว่า


2. น้ำส้มสายชูเทียม ได้จากการนำกรดน้ำส้มมาผสมน้ำเพื่อทำให้เจือจาง (ส่วนน้ำส้มสายชูปลอม ทำมาจากกรดกำมะถันหรือกรดเกลือผสมน้ำให้เจือจาง จึงไม่ควรนำมาใช้ปรุงรสอาหารรับประทาน เพราะจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ทำให้กระเพาะอาหารเป็นแผล)
การเลือกซื้อน้ำส้มสายชู

1. ศึกษาฉลาก ชื่อสามัญทางการค้า เครื่องหมายการค้า เลขทะเบียนอาหาร เครื่องหมายมาตรฐานการค้า ผู้ผลิต ผู้แทนจำหน่าย วันหมดอาย ุ ปริมาตรสุทธิ


2. สังเกตความใสไม่มีตะกอนขวดและฝาขวดของน้ำสมสายชูไม่สึกกร่อน ผลึกสีขาวรูปร่างคล้ายกระดูกของผงชูรส

วิธีการทดสอบน้ำส้มสายชู

1) นำน้ำสมสายชูที่สงสัยใส่ภาชนะ หยดน้ำยาเยนเชียนไวโอเลตสีม่วงลงไปในน้ำส้มสายชู ถ้าไม่เปลี่ยนสีเป็นน้ำส้มสายชูแท้ ถ้าเปลี่ยนเป็นสีเขียวหรือสีน้ำเงินเป็นน้ำส้มสายชูปลอม หรือใส่ผักชีน้ำสมสายชูแล้วสังเกตการเปลี่ยนสี ถ้าน้ำส้มสายชูปลอมผักชีจะเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือและจะไหม้อย่างรวดเร็ว


2) น้ำปลา เป็นสารเคมีที่ใช้ปรุงอาหาร ทำให้อาหารมีรสเค็ม มี 2 ชนิด คือ




1. น้ำปลาแท้ ได้จากการหมักปลากับเกลือเป็นเวลานาน จนได้น้ำปลาใส สีน้ำตาลแดง มีกลิ่นคาว ของปลามาก ให้โปรตีนและเกลือสูง


2. น้ำปลาผสม ทำจากกากปลาที่เหลือจากการหมักน้ำปลาแท้ผสมกับน้ำเกลือแต่งสีด้วยน้ำตาล เคี่ยวไหม้ หรือของเหลวที่เหลือจากการผลิตผงชูรส ผสมกับกากปลาที่เหลือจากการหมัก น้ำปลาแท้

การเลือกซื้อน้ำปลา ควรศึกษารายละเอียดต่อไปนี้

1. ต้องมีตราสินค้าและที่อยู่ของผู้ผลิตชัดเจน


2. ผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข หรือมาตรฐาน มอก.


3. ระบุวิธีเก็บรักษา


4. ระบุวันที่ผลิต และหมดอายุ

3) ผงชูรส

มีชื่อทางเคมีว่า โมโนโซเดียมกลูตาเมท (Monosodium glutamate) หรือ เรียกย่อว่า MSG. มีพลึกสีขาวเป็นแท่งคล้ายกระดูก ผลิตจากมันสำปะหลังหรือกากน้ำตาล โดยทั่วไปเชื่อว่าทำให้อาหารอร่อย ยังมีผงชูรสปลอมวางขายตามท้องตลาด ซึ่งผงชูรสปลอมจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ดังนั้น จึงควรเลือกซื้ออย่างระมัดระวัง


ผงชูรสจะมีลักษณะรูปร่างดังนี้


• เป็นผลึกสีขาวค่อนข้างใส ไม่มีความวาว


• เป็นแท่งสีเหลี่ยม ไม่เรียบ ปลาข้างใดข้างหนึ่งเล็กคล้ายรูปกระบอง


• เป็นแท่งสีเหลี่ยม ไม่เรียบ แต่ปลายทั้งสองข้างใหญ่คอดตรงกลางคล้ายรูปกระดูก


ผงชูรสมีคุณสมบัติละลายได้ดีในน้ำ ทั้งยังช่วยละลายไขมันให้ผสมกลมกลืนกับน้ำ


มีรสเหมือนน้ำต้มเนื้อ สามารถกระตุ้นปุ่มปลายประสาทโคนลิ้นกับลำคอ ทำให้รู้สึกอร่อยขึ้นได้


การทดสอบสารปลอมปน


1) บอแรกซ์


บอแรกซ์ เป็นผลึกค่อนข้างกลม สีขาวขุ่นคล้ายผงชูรสหัก บอแรกซ์มีพิษสะสม ี่กรวยไต และเป็นอันตรายถึงตายถ้าบริโภคเกินกว่า 15 กรัมต่อครั้ง
การตรวจสอบหาบอแรกซ์ในผงชูรส ที่สงสัยประมาณเม็ดถั่วเขียวละลายน้ำ 1 ช้อนกาแฟ แล้วนำกระดาษขมิ้นจุ่มลงไป ถ้าเป็นผงชูรสแท้กระดาษขมิ้นจะไม่เปลี่ยนสี แต่ถ้ามีบอแรกซ์ผสมอยู่กระดาษขมิ้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง หรือสีคล้ำทันที ( วิธีทำกระดาษขมิ้นใช้ผงขมิ้นประมาณ 1 ช้อนกาแฟ ผสมอัลกอฮอล์หรือสุราขาวประมาณ 10 ช้อนกาแฟ จะได้น้ำยาสีเหลือง นำกระดาษสีขาวจุ่มลงไป แล้วตากให้แห้งกระดาษจะมีสีเหลืองอ่อน)

2) โซเดียมเมตาฟอสเฟต


โซเดียมเมตาฟอสเฟต เป็นผลึกแท่งเหลี่ยมยาวคล้ายผงชูรสมาก แต่มีลักษณะใสและเรียบกว่า ถ้าบริโภคเข้าไปแล้วจะ เกิดอาการถ่ายท้องอย่างรุนแรง


การตรวจหาโซเดียมเมตาฟอสเฟตในผงชูรส นำผงชูรสที่สงสัยประมาณ 1 ช้อนชา ละลายในน้ำสะอาดประมาณครึ่งแก้ว แล้วใส "น้ำปูนขาวผสมกรดน้ำส้ม" ลงไปประมาณ 1 ช้อนชา ถ้าเป็นผงชูรสแท้จะไม่มีตะกอนเกิดขึ้น แต่ถ้าเป็นผงชูรสที่มีโซเดียมเมตาฟอสเฟตผสมอยู่จะเกิดตะกอนขุ่นขาวทันที ( วิธีทำน้ำยาปูนขาวผสมกรดน้ำส้ม ใช้ปูนขาวประมาณครึ่งช้อนชา ละลายในน้ำส้มสายชูประมาณ 7 ช้อนโต๊ะ คนให้ทั่วประมาณ 2 - 3 นาที แล้วทิ้งไว้ให้ตะกอนนอนก้นรินเอาน้ำยาใสข้างบนออกมาใช้ น้ำยาใสนี้คือ "น้ำปูนขาวผสมกรดน้ำส้ม"

ข้อแนะนำในการเลือกซื้อและใช้ผงชูรส ควรศึกษารายละเอียดต่อไปนี้

1) ผงชูรสแท้ มี MSG ไม่น้อยกว่าร้อยละ 99 ของน้ำหนักก่อนซื้อโปรดสังเกตภาชนะบรรจุต้องเรียบร้อยไม่มีรอยตำหนิฉลากตัวหนังสือพิมพ์ภาษาไทยชัดเจน และมีข้อความต่อไปนี้


1. ผงชูรสแท้ ชื่อ (ยี่ห้อ)


2. ชื่อและที่ตั้งผู้ผลิต


3. น้ำหนักสุทธิ


4. ผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข


5. วันเดือนปีที่ผลิต หรือวันเดือนปีที่หมดอายุ


2) สังเกตลักษณะของเกล็ดผงชูรส


3) ละลายน้ำได้ดี ชิมดูมีรสคล้ายน้ำต้มเนื้อ

4) สีผสมอาหาร

เป็นสารเคมีที่ใช้ปรุงอาหารให้มีสีน่ารับประทาน สีผสมอาหาร
แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ


1. สีที่ได้จากธรรมชาติ ส่วนใหญ่ได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืชและไม่เป็นอันตราย


ต่อร่างกาย ได้แก่ เปลือกไม้ ใบไม้ ดอกไม้และรากไม้ เป็นต้น และยังอาจได้จากสัตว์และแร่ธาตุ


- สีเขียว ได้จาก ใบเตย ใบย่านาง


- สีเหลือง ได้จาก เหง้าขมิ้นชัน ดอกกรรณิการ์ ดอกคำฝอย ยอดเกสร


ตัวเมียของหญ้าฝรั่ง ผลฟักทอง ดอกโสน


- สีแดง ได้จาก ดอกกระเจี๊ยบ ครั่ง ข้าวแดง เมล็ดคำแสด หัวผักกาดแดง


พริกแดง มะเขือเทศ


- สีน้ำเงิน ได้จาก ดอกอัญชัน


- สีดำ ได้จาก กาบมะพร้าว ดอกดิน ขี้เถ้า


- สีม่วง ได้จาก ดอกอัญชัน (โดยเติมน้ำมะนาวลงในน้ำดอกอัญชัน) ผลผักปลังสุก


หัวมันเลือดนก
2. สีที่ได้จากการสังเคราะห์ สำหรับผสมอาหารมีหลายสีหลายชนิด สามารถใช้ ผสมอาหารบริโภคได้อย่างปลอดภัย แต่มักมีพ่อค้าแม่ค้าที่ขาดความรู้และความรับผิดชอบนำสีย้อมผ้ามาผสมอาหาร อาหารที่ใส่สีย้อมผ้า




เมื่อรับประทานแล้วจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ทำให้ผิวหนัง เป็นผื่นแดง หน้าบวม อาเจียน ท้องเดิน ชา อ่อนเพลีย เมื่อสีสะสมในร่างกายมาก ๆ อาจเป็นมะเร็งที่กระเพราะอาหาร ลำไส้ กระเพราะปัสสาวะ เป็นโรคโลหิตจาง และโรคเนื้องอกในส่วนต่างๆ ของ ร่างกาย ผู้ที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องสี จะนำเอาสีย้อมผ้ามาผสมอาหารที่ผลิตขายซึ่งเป็น อันตรายต่อร่างกายของผู้บริโภค

การเลือกซื้อสีผสมอาหาร

1. มีคำว่าสีผสมอาหร


2. ผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข


3. วันเดือนปีที่ผลิต หรือวันเดือนปีที่หมดอายุ


4. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต


5. วิธีใช้


6. ส่วนประกอบสำคัญโดยประมาณ เป็นร้อยละของน้ำหนักเรียงจากน้อยไปมาก



2. เครื่องดื่ม

เครื่องดื่ม หมายถึง สิ่งที่มนุษย์จัดเตรียมสำหรับดื่ม และมักจะมี น้ำ เป็นส่วนประกอบหลัก
บางประเภทได้คุณค่าทางโภชนาการ บางประเภทดื่มแล้วไปกระตุ้นระบบประสาท และบาง
ประเภทดื่มเพื่อดับกระหาย แบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ น้ำดื่มสะอาด น้ำผลไม้ นม น้ำอัดลม
เครื่องดื่มบำรุงกำลัง ชาและกาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์


1) น้ำดื่มสะอาด
น้ำดื่มสะอาด เป็นเครื่องดื่มที่ไม่สิ่งอื่นเจือปน เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการต่างๆ ในร่างกาย ปัจจุบันน้ำดื่มสะอาดได้รับความนิยมมาก ผู้ผลิตมักจะบรรจุน้ำดื่มในขวดใสสะอาดแก้วที่สะอาด เหมาะสำหรับที่จะเสิร์ฟในร้านอาหาร หรือในงานเลี้ยงต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ผู้ที่ควบคุมน้ำหนักส่วนใหญ่มักจะเลือกเครื่องดื่มชนิดนี้แทนเครื่องดื่มที่มีรสหวานอื่นๆ


2) น้ำผลไม้
น้ำผลไม้เป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์มากอย่างหนึ่ง และต้องเป็นน้ำผลไม้ที่สดๆ จึงจะได้คุณค่ามาก ผู้ผลิตมักจะนำผลไม้ที่มีมากในฤดูกาลมาคั้นเอาแต่น้ำ นำมาเคี่ยวกับน้ำตาล หรือนำผลไม้สดมาปั่นผสมกับน้ำแข็ง น้ำเชื่อม จะได้รสชาติแปลกๆ หลายอย่าง

อ้างอิง

http://ednet.kku.ac.th/~sumcha/chem/pages/content.htm
www.pha.nu.ac.th/education_doc/PharmD.../001143.pdf
www.scedu.science.cmu.ac.th/register/pdf/author25_by_PSE0019.pdf